kaazipcafe

ชุมชนคนหน้าถ้ำ

ชุมชนหน้าถ้ำ

พื้นที่โดยรอบของถ้ำคูหาภิมุข ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา มีความเป็นมาน่าสนใจอยู่มาก ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูนับถือศาสนาอิสลาม กระทั่งในปี พ.ศ. 2392 ชาวมุสลิมบ้านหน้าถ้ำได้ค้นพบพระพุทธรูปในถ้ำคูหาภิมุข เมื่อชาวจีนและไทยพุทธบ้านเปาะเส้งทราบข่าวจึงได้ขอเจรจาแลกเปลี่ยนพื้นที่ตั้งชุมชนกับชาวมุสลิม เพราะตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณพุทธสถานที่ไม่ใช่สิ่งที่ตนนับถือ ด้วยเหตุนี้ชาวมุสลิมบ้านหน้าถ้ำจึงย้ายไปอยู่ที่บ้านเปาะเส้ง และชาวพุทธเปาะเส้งก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านหน้าถ้ำจนถึงปัจจุบัน

ในปีพ.ศ.2558 มีการรวมตัวกันเป็น กลุ่มสีมายา เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมือง นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น อย่าง “ดินมายา” ซึ่งมีลักษณะจำเพาะมาเป็นสีมัดย้อมบนผืนผ้า รวมทั้งสีจากวัสดุธรรมชาติรอบตัว เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์สีมายามากมาย
ในปีพ.ศ.2558 มีการรวมตัวกันเป็น กลุ่มสีมายา เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมือง นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น อย่าง “ดินมายา” ซึ่งมีลักษณะจำเพาะมาเป็นสีมัดย้อมบนผืนผ้า รวมทั้งสีจากวัสดุธรรมชาติรอบตัว เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์สีมายามากมาย
ในปีพ.ศ.2558 มีการรวมตัวกันเป็น กลุ่มสีมายา เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมือง นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น อย่าง “ดินมายา” ซึ่งมีลักษณะจำเพาะมาเป็นสีมัดย้อมบนผืนผ้า รวมทั้งสีจากวัสดุธรรมชาติรอบตัว เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์สีมายามากมาย

ผู้คนในชุมชนตำบลหน้าถ้ำ เรียกตัวเองว่า คนหน้าถ้ำ อยู่ในชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และอาหาร ในปีพ.ศ.2558 มีการรวมตัวกันเป็น “กลุ่มสีมายา” เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมือง นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น อย่าง “ดินมายา” ซึ่งมีลักษณะจำเพาะมาเป็นสีมัดย้อมบนผืนผ้า รวมทั้งสีจากวัสดุธรรมชาติรอบตัว เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์สีมายามากมาย ดินมายานอกจากใช้ประโยชน์เป็นสีย้อมแล้ว ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวทางสารอาหารในดิน ชาวบ้านจึงต่อยอดเป็น “ไข่เค็มดินมายา” โดยใช้ไข่เป็ดที่ได้จากฟาร์มท้องถิ่นในพื้นที่หน้าถ้ำ เจ้าของฟาร์มได้รับรางวัลเกษตรกรตัวอย่างหลายปีซ้อนจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นอีกความภาคภูมิใจของชุมชนหน้าถ้ำเช่นกัน

 

#ใต้สุดอยู่ไม่ไกล #ใต้ธงไทยเดียวกัน
#ยะลา #หน้าถ้ำ #สีมายา #ถ้ำคูหาภิมุข
#ผ้าย้อมสีธรรมชาติ #ไข่เค็ม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *